การพิมพ์ระบบเรซิ่นนี้
ส่วนใหญ่เป็นการสร้างชิ้นงานที่มีขนาดเล็ก และต้องการความละเอียดที่สูง
จึงเหมาะกับธุรกิจประเภท เครื่องประดับ Jewelry งานหล่อชิ้นส่วนขนาดเล็กในงานอุตสาหกรรมออกแบบ
ผลิตภัณฑ์งานโมเดลฟิกเกอร์ หรือแม้กระทั่งงานพระเครื่อง
เครื่องพิมพ์แบบ SLA หรือ DLP นั้น มีหลักการทำงานเช่นเดียวกัน คือ การฉายแสงไปยังเรซิ่นที่ไวต่อแสง และแข็งตัวเมื่อโดนแสงที่ย่านความถึ่เฉพาะตัว ขึ้นรูปจากน้ำเรซิ่น (Photopolymer Resin) เป็นวัตถุแข็งตัว
หลักการทำงานเครื่องพิมพ์ระบบ DLP/SLA นั้น คล้ายกับการ“ปั้นน้ำให้เป็นตัว” โดยส่วนประกอบ หลักของเครื่อง คือ ถาดใส่น้ำาเรซิ่น ฐ านพิมพ์ที่เคลื่อนที่ขึ้น-ลง และแหล่งกำเนิดแสง น้ำยาเรซิ่น คือ Photo Sensitive Resin ซึ่งเรซิ่นชนิดนี้ เมื่อถูกแสงที่ความถี่ช่วงประมาณ 360-420nm (แล้วแต่ชนิดของ Resin จะแข็งตัวที่ความถี่จำเพาะ) เรซิ่นจะแข็งตัวเป็นก้อนพลาสติก หากฉายแสงทีละชั้นไปเรื่อยๆ ดังนั้น หลายร้อยหลายพันชั้นก็จะขึ้นรูปออกมาเป็นชิ้นงานที่ฉายในแต่ละชั้น คือ Cross Section หรือภาพตัดขวาง ณ ตำแหน่งนั้น ๆ ของวัตถุที่ต้องการพิมพ์นั้นเอง
เนื่องจากเครื่องพิมพ์ระบบ DLP/SLA ใช้แหล่งกำเนิดเป็นแสง เครื่องจึงสามารถสร้างชิ้นงานได้อย่าง
ละเอียดมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่ตัวแหล่งกำเนิดแสง เช่น
ความละเอียดของแสง Laser หรือ
ความละเอียดของ โปรเจคเตอร์ แต่เครื่องพิมพ์ระบบนี้ ยังมีข้อจำกัดอยู่เช่นกันคือ สามารถสร้างชิ้นงานได้ในขนาดที่จำกัดโดย
ชิ้นงานที่สร้างได้นั้นมีขนาดค่อนข้างเล็กถึงเล็กมาก ซึ่งหลังจากทำการสร้างชิ้นงานแล้วอาจจะต้องมีการฉายแสง ด้วยหลอด UV อีกครั้ง เพื่อให้ชิ้นวัตถุแข็งตัวคงที่
ประเภทของ SLA/DLP 3D Printer
ความแตกต่างของทั้งสองระบบ
นั้นอยู่ที่แหล่งกำเนิดแสง แหล่งกำเนิดแสงของ DLP
คือ Projector ส่วน SLA แหล่งกำเนิดแสง คือ เลเซอร์
1. SLA Printer หรือ Stereo lithography เป็นระบบที่มีการใช้งานมาเป็นเวลาสิบปีแล้ว ซึ่งใช้แหล่งกำเนิดแสงแบบ Laser หลักการทำงานของเครื่อง คือ การ “วาดเส้น” โดยเครื่องจะมีกระจกที่เคลื่อนที่ได้ ควบคุมตำแหน่งของแสงเลเซอร์ในยิงไปยังจุดต่าง ๆ ของถาดใส Resin ตัวเครื่องนั้นจะมีขนาดเล็กกว่าแบบ DLP
2. DLP Printer ย่อมาจาก Direct Light Process ซึ่งใช้โปรเจคเตอร์เป็นแหล่งกำเนิดแสง หลักการทำงานของเครื่อง คือ “ฉายแสงเป็นภาพ” ดังนั้น จึงขึ้นรูปในแต่ละชั้นโดยการฉายแสงเพียงครั้งเดียว แล้วปกติ เครื่องแบบ DLP จะมีขนาดใหญ่กว่าเครื่องแบบ SLA เนื่องจากต้องมีพื้นที่ไว้วางเครื่องProjector แต่ข้อดี คือ เครื่องสามารถพิมพ์ได้รวดเร็วกว่าระบบ SLA เนื่องจากมีการฉายแสงเพียงครั้งเดียวไม่ใช่วาดขึ้นมาเป็นรูป เหมือน SLA บริษัทผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ระบบนี้ เช่น B9Creator, Kudos3D and mUVe3D
3D Printer SLA/DLP เป็นการพิมพ์จากสารละลายของเหลว ด้วยกระบวนการพิมพ์ SLA (Stereolithography) ซึ่งของเหลวที่ว่านี้ก็คือ “เรซิ่น”
เรซิ่น จะประกอบไปด้วย มอนอเมอร์ (Monomer) และโอลิโกเมอร์ (Oligomer) สายโซ่โมเลกุลสั้นๆ ส่วนใหญ่เป็นอะตอมของคาร์บอนและหมู่ฟังชันก์อื่นอีกเล็กน้อย ถ้าถูกทิ้งไว้ในสถานะนี้ เรซิ่นจะยังคงอยู่ในรูปของเหลว